วันศุกร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6



บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์
วิชา  การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
วันที่ 19 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558 เวลา 13:10-16:40 น.



ความรู้ที่ได้รับ
        วันนี้ต้นชั่วโมงอาจารย์ได้มีกิจกรรมมาให้ทำคลายเครียด ก็คือกิจกรรมรถไฟเหาะ  เพื่อให้นักศึกเตรียมความพร้อมเข้าสู่เนื้อหาเรียน พอเสร็จแล้วก็มาเข้าสู่เนื้อหาเรียน

        เรื่องที่เรียน  การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
1. ทักษะทางสังคม
- เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการพ่อแม่
- การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข
กิจกรรมการเล่น
- การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
- เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
- ในช่วงแรกๆ เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน  แต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง
ยุทธศาสตร์การสอน
- เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีเล่น  ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร
- ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
- จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
- ครูจดบันทึก
- ทำแผน IEP
ครูปฏิบัติอย่างไรในขณะเด็กเล่น
- อยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ
- ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
- ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
- เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น
- ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม
การให้แรงเสริมสร้างทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
- ครูพูดชักชวนให้กับเด็กร่วมเล่นกับเพื่อน
ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์
- ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ
- การให้โอกาสเด็ก
- เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง
- ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง



พอเรียนเสร็จอาจารย์ก็ได้แจกเนื้อเพลง เพื่อทำการฝึกร้องเพลง
เนื้อเพลง


        สำหรับกิจกรรมสุดท้ายของวันนี้คือ  กิจกรรมศิลปะและดนตรีบำบัดสำหรับเด็กพิเศษ  อาจารย์ให้จับคู่กันแล้วให้เลือกว่าใครจะเป็นเด็กปกติ และใครจะเป็นเด็กพิเศษ  แล้วให้แต่ละคนเลือกคนละสี  แล้วให้คนหนึ่งวาดเส้น อีกคนหนึ่งจุดตามรอยเส้นตัดที่วงกลม
        หลังจากวาดเส้นเสร็จแล้วอาจารย์ให้จินตนาการว่าเห็นอะไรในภาพ  แล้วก็ระบายสี  หลังจากนั้นก็นำผลงานมานำเสนอหน้าห้องเรียน  ดังนี้




การนำไปใช้
- สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการเรียนการสอนได้
- สามารถนำเทคนิคต่างๆไปใช้กับเด็กพิเศษได้
- สามารถนำเนื้อเพลงไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

การประเมิน
- ตนเอง  เข้าเรียนตรงต่อเวลา  แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียนและให้ความร่วมมือกับกิจกรรม
- เพื่อน  ตั้งใจเรียนตั้งใจทำกิจกรรม  แต่งกายเรียบร้อย
- อาจารย์  มีกิจกรรมมาเสริมทั้งในต้นชั่วโมงและท้ายคาบ  และอธิบายเนื้อหาได้อย่างเข้าใจและยังได้สอนร้องเพลงเพื่อไปใช้ในชีวิตประจำวัน






วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5




บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์
วิชา  การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
วันที่ 12 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558 เวลา 13:10-16:40 น.


วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน
เนื่องจากมีการเซอร์ไพร์วันเกิดอาจารย์เบียร์















บันทึกอนุทินครั้งที่ 4



บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์
วิชา  การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
วันที่ 5 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558 เวลา 13:10-16:40 น.




ความรู้ที่ได้รับ
        วันนี้ต้นชั๋วโมงก่อนเข้าสู่เนื้อหาเรียนอาจารย์ได้ให้วาดภาพดอกลิลลี่ ที่อาจารย์กำหนดภาพมาให้วาดเสร็จอาจารย์ให้ให้สังเกตภาพว่าเป็นอย่างไรรู้สึกอย่างไร

ภาพดอกลิลลี่

*ต่อมาเข้าสู้โหมดการเรียนด้วยเนื้อหา เรื่อง บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม

ครูไม่ควรทำ
- ครูไม่ควรวินิจฉัย  การตัดสินใจโดยดูอาการหรือสัญญาณบางอย่าง  ดูอาการออกแล้วเก็บไว้คนเดียว
- ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก  ห้ามตั้งฉายาให้เด็ก เช่น อีอ้วน ดำ
- ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ  พ่อแม่ของเด็กพิเศษเขามักทราบดีว่าลูกเขามีปัญหา  ครูช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นแนวทางที่จะช่วยให้เด็กพัฒนา

ครูควรทำ
- สังเกตอย่างมีระบบ  ไม่มีใครสามารถสังเกตอย่างมีระบบได้ดีกว่าครู
- การตรวจสอบ  จะทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร  เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้น  
- การบันทึกการสังเกต  ประกอบด้วย 3 ประเภท ดังนี้
      - การนับอย่างง่ายๆ  นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม  กี่ครั้งในแต่ละวันในแต่ละชั่วโมง  ระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม
      - การบันทึกต่อเนื่อง  เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่ง  หรือช่วงกิจกรรมหนึ่ง
      - การบันทึกไม่ต่อเนื่อง  เป็นการบันทึกสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนในช่วงเวลาหนึ่ง

การตัดสินใจ
- ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง
- คิดก่อนพูด
- วางแผนก่อนพูดกับผู้ปกครอง


หลังจากเรียนเสร็จอาจารย์ก็ได้มีกิจกรรมร้องเพลงได้ให้ฝึกร้องเพลง เนื้อเพลงดังนี้

การนำไปใช้
- สามารถนำบทบาทครูปฐมวัยไปไปใช้ในการเรียนการสอนได้
- สามารถนำคำสอนหรือเนื้อหาไปประยุกต์ใช้ในอนาคตได้

การประเมิน
- ตนเอง  มาเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจเรียนจดบันทึกเนื้อหา และตั้งใจทำกิจกรรม แต่งกายเรียบร้อย
- เพื่อน  ตั้งใจเรียนฟังอาจารย์สอน แต่งกายเรียบร้อย
- อาจารย์  มีกิจกรรมวาดภาพเหมือนแล้วระบายสีก่อนเข้าสู่บทเรียนเพื่อไม่ให้นักศึกษาง่วงนอน และอธิบายเนื้อได้อย่างเข้าใจ และท้ายคาบมีการฝึกร้องเพลงเพื่อคลายเครียดหลังจากการเรียนเสร็จ








บันทึกอนุทินครั้งที่ 3



บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์วิชา  การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัยInclusive Education Experiences Management for Early Childhoodวันที่ 29 เดือน มกราคม พ.ศ.2558 เวลา 13:10-16:40 น.



ไม่มีการเรียนการสอน

เนื่องจากอาจารย์ไปสัมนาวิชาการ


บันทึกอนุทินครั้งที่ 2



บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์
วิชา  การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
วันที่ 22 เดือน มกราคม พ.ศ.2558 เวลา 13:10-16:40 น.


ความรู้ที่ได้รับ
     - การศึกษาปกติทั่วไป  (Regular  Education)
     - การศึกษาพิเศษ  (Special  Education)
     - การศึกษาแบบเรียนร่วม  (Integrated  Education  หรือ  Mainstreaming)
     - การศึกษาแบบเรียนรวม  (Inclusive  Education)

การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ 
      เด็กทุกคนสามารถที่จะเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการของเด็ก

ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม
        - การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป  (เด็กมีสิทธิเท่าเทียมกัน)
        - มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน
        - ใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน

การเรียนร่วมบางเวลา  (Integration)
        - การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติในบางเวลา
        - เด็กพิเศษได้มีโอกาสแสดงออก  และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ
        - เป็นเด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมาก  จึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้

การเรียนร่วมเต็มเวลา  (Mainstreaming)
        - การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน
        - เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ
        - มีเป้าหมายเพื่อให้เด็กเข้าใจซึ่งกันและกัน  ตอบสนองความต้องการซึ่งกันและกันและมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน

*การศึกษาแบบเรียนรวมเป็นการศึกษาที่เห็นทุกคนที่ต้งเริ่มต้นตั้งแต่ปฐมวัย



พอเรียนเนื้อหาเสร็จอาจารย์ก็ให้ฝึกร้องเพลงต่อจากครั้งที่แล้วพอคลายเครียดในการเรียน  มีเนื้อเพลงดังนี้

การนำไปใช้
- สามารถนำรุปแบบการจัดการศึกษาเด็กพิเศษไปใช้ในการเรียนการสอนได้
- สามารถนำตัวอย่างที่อาจารย์ยกตัวอย่างไปประยุกต์ใช้ได้
- สามารถนำเนื้อเพลงไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

การประเมิน
- ตนเอง  มาเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจเรียนและจดบันทึก ตั้ใจในการฝึกร้องเพลง
- เพื่อน  ตั้งใจเรียนและมีการถามตอบ ให้ความร่วมมือในการเรียน
- อาจารย์  เข้าตรงต่อเวลา  อธิบายเนื้อหาได้อย่างเข้าใจและมีการยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพในเหตุการณ์นั้น และยังมีกิจกรรมเสริมในการร้องเพลงมาให้กับนักศึกษาได้ฝึกร้อง






วันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 1



บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์
วิชา  การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
วันที่ 15 เดือน มกราคม พ.ศ.2558 เวลา 13:10-16:40 น.


ความรู้ที่ได้รับ
        วันนี้เป็นคาบที่2 ของภาคเรียนที่2  ซึ่งวันนี้อาจารย์เบียร์ก็ได้ก้ได้นำเฉลยข้อสอบจากเทอมที่แล้วมาเฉลยให้ฟังและอธิบายคำตอบแต่ละข้อ  และอาจารย์ให้ทำแบบทดสอบความรู้วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กพิเศษ เพื่อททวนความรู้จากเทอมที่แล้ว  นอกจากนี้อาจารย์ได้ไปเอาประสบการณ์จากการออกค่ายอาสาที่โรงเรียนวัดบ้านหนองกระทิง  ที่จังหวัดบุรีรัมย์กับรุ่นพี่ปี 4 แล้วมาเล่าให้ฟัง เพื่อให้พวกเราได้ถึงประสบการณ์และจะได้เตรียมความพร้อมในครั้งต่อไปเพื่อจะได้ดีกว่าเดิม  ท้ายคาบอาจารย์ได้ให้ฝึกร้องเพลงเพราะเราเป็นครูต้องรู้จักร้องเพลงในอนาคตเราต้องใช้หรือปัจจุบันเราก็ต้องใช้มีความสำคัยต่อชีวิตประจำวัน เพลงที่ร้องวันนี้ "นม" เนื้อเพลงดังนี้

ผู้แต่ง  อ.ศรีนวล  รัตนสุวรรณ


บรรยากาศในห้องเรียน

การนำไปใช้
-สามารถนำเนื้อหาไปปรับใช้ในการเรียนการสอนได้
-สามารถนำประสบการณ์ค่ายอาสาไปประยุกต์ใช้ครั้งที่จะได้ไปค่ายอาสาเพื่อให้ได้ดีกว่าเดิมเพราะมีแนวทางจากอาจารย์มาเล่าให้ฟังแล้วดังนั้นเรามีหน้าที่ทำให้ดีที่สุด
-สามารถนำเนื้อเพลงไปใช้ในชีวิตประจำวันได้หรือใช้ในการเรียนการสอนได้

การประเมิน
-ตนเอง  เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย  ตั้งใจฟังอาจารย์ตั้งใจร้องเพลงที่อาจารย์ได้มอบหมายให้
-เพื่อน  ตั้งใจเรียน  แต่งกายเรียบร้อย มีการโต้ตอบเวลาอาจารย์ถาม
-อาจารย์  มีประสบการณ์ดีๆมาเล่าให้ฟังและยังมาทบทวนเนื้อหาจากวิชาที่เคยเรียนแล้วมีสิ่งดีๆมามอบให้มาสอนเพื่อลูกศิษย์ยังมีเพลงมาให้หัดร้องเพื่อใช้ในการเรียนการสอนได้