วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4



บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์
วิชา  การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
วันที่ 5 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558 เวลา 13:10-16:40 น.




ความรู้ที่ได้รับ
        วันนี้ต้นชั๋วโมงก่อนเข้าสู่เนื้อหาเรียนอาจารย์ได้ให้วาดภาพดอกลิลลี่ ที่อาจารย์กำหนดภาพมาให้วาดเสร็จอาจารย์ให้ให้สังเกตภาพว่าเป็นอย่างไรรู้สึกอย่างไร

ภาพดอกลิลลี่

*ต่อมาเข้าสู้โหมดการเรียนด้วยเนื้อหา เรื่อง บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม

ครูไม่ควรทำ
- ครูไม่ควรวินิจฉัย  การตัดสินใจโดยดูอาการหรือสัญญาณบางอย่าง  ดูอาการออกแล้วเก็บไว้คนเดียว
- ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก  ห้ามตั้งฉายาให้เด็ก เช่น อีอ้วน ดำ
- ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ  พ่อแม่ของเด็กพิเศษเขามักทราบดีว่าลูกเขามีปัญหา  ครูช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นแนวทางที่จะช่วยให้เด็กพัฒนา

ครูควรทำ
- สังเกตอย่างมีระบบ  ไม่มีใครสามารถสังเกตอย่างมีระบบได้ดีกว่าครู
- การตรวจสอบ  จะทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร  เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้น  
- การบันทึกการสังเกต  ประกอบด้วย 3 ประเภท ดังนี้
      - การนับอย่างง่ายๆ  นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม  กี่ครั้งในแต่ละวันในแต่ละชั่วโมง  ระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม
      - การบันทึกต่อเนื่อง  เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่ง  หรือช่วงกิจกรรมหนึ่ง
      - การบันทึกไม่ต่อเนื่อง  เป็นการบันทึกสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนในช่วงเวลาหนึ่ง

การตัดสินใจ
- ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง
- คิดก่อนพูด
- วางแผนก่อนพูดกับผู้ปกครอง


หลังจากเรียนเสร็จอาจารย์ก็ได้มีกิจกรรมร้องเพลงได้ให้ฝึกร้องเพลง เนื้อเพลงดังนี้

การนำไปใช้
- สามารถนำบทบาทครูปฐมวัยไปไปใช้ในการเรียนการสอนได้
- สามารถนำคำสอนหรือเนื้อหาไปประยุกต์ใช้ในอนาคตได้

การประเมิน
- ตนเอง  มาเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจเรียนจดบันทึกเนื้อหา และตั้งใจทำกิจกรรม แต่งกายเรียบร้อย
- เพื่อน  ตั้งใจเรียนฟังอาจารย์สอน แต่งกายเรียบร้อย
- อาจารย์  มีกิจกรรมวาดภาพเหมือนแล้วระบายสีก่อนเข้าสู่บทเรียนเพื่อไม่ให้นักศึกษาง่วงนอน และอธิบายเนื้อได้อย่างเข้าใจ และท้ายคาบมีการฝึกร้องเพลงเพื่อคลายเครียดหลังจากการเรียนเสร็จ








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น