วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 16



บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์
วิชา  การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
วันที่ 27 เดือน เมษายน พ.ศ.2558 เวลา 13:10-16:40 น.


ความรู้ที่ได้รับ
         วันนี้เป็นคาบสุดท้ายของเทอมนี้  วันนี้อาจารย์ให้สอบร้องเพลง  เป็นเพลงที่อาจารย์เคยสอนมาทั้งหมด  มีทั้งหมด21เพลง  แต่อาจารย์ให้จับฉลากเพลง ออกมาร้องคนละ เพลง  โดยจะมีเกณฑ์การให้คะแนนดังนี้ มีทั้งหมด5คะแนน
1.  ดูเนื้อเพลง  หัก 1 คะแนน
2.  ให้เพื่อนช่วยร้อง  หัก 1 คะแนน
3.  จับฉลากใหม่  หัก 0.5 คะแนน

เนื้อเพลง

บรรยากาศระหว่างสอบร้องเพลง



การนำไปใช้
-สามารถนำเพลงไปใช้สอนเด็กได้
-สามารถนำเนื้อเพลงไปใช้การเรียนการสอนได้

การประเมิน
-ตนเอง  เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย  ตั้งใจร้องเพลงและมีความตื่นเต้นในการร้องทำให้ลืมเนื้อเพลง  มีความสนุกสนานเวลาเพื่อนออกไปร้อง  ทำให้ตัวเองไม่เครียด
-เพื่อน  ตั้งใจร้องเพลง  และตั้งใจซ้อมร้องเพลง มีอาการเครียดกับการร้อง
-อาจารย์  มีเนื้อเพลงมาให้นักศึกาามาหัดร้องทำให้นักศึกษาหายเครียดและเนื้อเพลงยังสมารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้  และการสอบร้องเพลงอาจารย์ไม่มีความกดดัน ให้ร้องอย่างสบาย อาจารย์ใจดีมากและยังให้คำปรึกษาตลอดมา ไม่ว่าจะเรื่องเรียนหรือเรื่องส่วนตัว  อาจารย์จะคอยอยู่ข้างๆเสมอคอยให้กำลังใจตลอดในทุกๆเรื่อง  และอาจารย์ยังแต่งกายเรียบร้อยตั้งแต่คาบแรกจนวันสุดท้าย  อาจารย์มีแต่สิ่งดีๆให้กับนักศึกษา  ไม่ว่าจะเกิดเรื่องอะไรขึ้นอาจารย์คอยยืนมือมาช่วยและให้คำปรึกษาและให้ข้อคิด คอยเตือนในสิ่งที่ไม่ดี  ขอบคุณนะค่ะสำหรับคำสั่งสอนดีๆ  อาจารย์เป็นอาจารย์ที่แสนดีทีี่รักนักศึกษาทุกคนให้ความรักมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น  รักครูเบียร์นะค่ะ  เทอมหน้าเรามาพบกันใหม่นะค่ะ(ห้ามทิ้งพวกหนูไปไหน)




บันทึกอนุทินครั้งที่ 15




บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์
วิชา  การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
วันที่ 23 เดือน เมษายน พ.ศ.2558 เวลา 13:10-16:40 น.

ความรู้ที่ได้รับ
          วันนี้เรียนเรื่อง  โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล IEP
แผน  IEP  คือ  แผนที่ารศึกษาที่ร่างขึ้นมาเพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอนและการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเด็ก

การเขียนแผน IEP  คือ ต้องคัดแยกเด็กพิเศษและครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร  ควรประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ  จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหนในทักษะใด  เด็กสามารถทำอะไรได้บ้าง  ไม่สามารถทำอะไรได้บ้าง  แล้วจึงเขียนแผน IEP  ได้

IEP ประกอบด้วย  ดังนี้  ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก  ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง  การระบุความของเด็กในขณะปัจจุบัน  เป้าหมายระยะยาวประจำปีหรือระยะสั้น   ระบุวันเดือนปี  ที่เริ่มทำการสอน  และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผนวิธีการประเมินผล

ประโยชน์ต่อเด็ก  เด็กได้เรียนรู้ความสามารถของตน เด็กยังมีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน  เด็กยังได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม

ประโยชน์ต่อครู   ครูเป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสารถและความต้องการของเด็ก  ครูเป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก

ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง  ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ

ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
1.  การรวบรวมข้อมูล
-รายงานมางการแพทย์
-รายงานการประเมินด้านต่างๆ
-บันทึกจากผู้ปกครอง  ครู  และผู้เกี่ยวข้อง
2.  การจัดทำแผน
-ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
-กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
-กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
-จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
3.  การใช้แผน
-เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์  ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
-นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
-แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะสมกับเด็ก
-จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
4.  การประเมินผล
-โดยทั้วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง  หรือย่อยกว่านั้น
-ควรมีการกำหนดวิธีการประเมินและเกณฑ์วัดผล


หลังจากเรียนเนื้อหาจบอาจารย์ก็ให้จับกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน ให้ช่วยกันเขียนแผน IEP


การนำไปใช้
-สามารถนำวิธีการเขียนแผนไปประยุกใช้ในการเรียนการสอนได้
-สามารถนำคำชี้แนะของอาจารย์ไปปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมในการเขียนแผน

การประเมิน
-ตนเอง  เข้าเรียนตรงต่อเวลา  ตั้งใจเรียน และให้ความร่วมมือในการเขียนแผน  แต่งกายเรียบร้อย
-เพื่อน  แต่งกายเรียบร้อยตั้งใจเรียนและจดบันทึกและตั้งใจเขียนแผน
-อาจารย์  อธิบายเนื้อหาได้อย่างเข้าใจ  และคอยชี้แนะในการเขียนแผนและได้อธิบายแผนได้อย่างละเอียด






บันทึกอนุทินครั้งที่ 14




บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์
วิชา  การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
วันที่ 16 เดือน เมษายน พ.ศ.2558 เวลา 13:10-16:40 น.


วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากวันหยุดช่วงสงกรานต์
และมีการนัดชดเชย



บันทึกอนุทินครั้งที่ 13




บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์
วิชา  การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
วันที่ 9 เดือน เมษายน พ.ศ.2558 เวลา 13:10-16:40 น.

ความรู้ที่ได้รับ
         วันนี้เรียนเรื่อง  การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
         ทักษะพื้นฐานทางการเรียน
เป้าหมาย  คือ  การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้  และเด็กรู้สึกว่า  "ฉันทำได้"
ช่วงความสนใจ  คือ  เด็กอนุบาลมีความสนใจ  10-15นาที  ส่วนเด็กสมาธิสั้น-ออทิสติก  มีความสนใจไม่ถึง 5 นาที
การเลียนแบบ  ลักษณะการเลียนแบบ    คือ เด็กพิเศษควรมีเพื่อนปกติควบคู่ด้วยและถ้าเรียกควรเรียกควรเรียกเด็กพิเศษก่อนค่อยเรียกเด็กปกติ
การทำตามคำสั่ง  คำแนะนำ  คือ  เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่และเด็กอาจไม่ได้ยิน  อีกอย่างที่สำคัญเด็กพิเศษต้องเรียกชื่อเขา
ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ
-ลูกปัดไม้ขนาดใหญ๋    -รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก

ระหว่างอาจารย์กำลังอธิบายเนื้อหาเรียน  และยกตัวอย่าง

การนำไปใช้
-สามารถนำเนื้อหาไปใช้ในการเรียนการสอนได้
-สามารถนำเทคนิคการสอนไปประยุกต์ใช้ในการสอนได้
-สามารถนำตัวอย่างไปปรับใช้ได้ในการสอน

การประเมิน
-ตนเอง  เข้าเรียนตรงต่อเวลา  แต่งกายเรียบร้อย  ตั้งใจเรียนและจดบันทึกเพิ่มเติม
-เพื่อน   ตั้งใจเรียนและมีการถามตอบ  และเข้าเรียนตรงต่อเวลา
-อาจารย์   อธิบายเนื้อหาได้อย่างเข้าใจและยังมีตัวอย่างต่างๆในเนื้อหาเรียน



บันทึกอนุทินครั้งที่ 12





บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์
วิชา  การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
วันที่ 2 เดือน เมษายน พ.ศ.2558 เวลา 13:10-16:40 น.


วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากนักศึกษาและอาจารย์
เข้าร่วมพิธีวันคล้ายวันพพระเทพระราชสมภพสมเด็จฯ  ณ สนามกีฬาในร่ม











บันทึกอนุทินครั้งที่ 11




บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์
วิชา  การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
วันที่ 26 เดือน มีนาคม พ.ศ.2558 เวลา 13:10-16:40 น.


ความรู้ที่ได้รับ
      วันนี้มีการสอบเก็บคะแนนในห้องเรียน  โดยมีข้อสอบข้อเขียนทั้งหมด 5 ข้อ  10คะแนน  ข้อสอบที่ใช้สอบเป็นข้อสอบที่เคยเรียนมาและยังมีการยกตัวอย่างเหมือนที่อาจารย์ยกตัวอย่างให้ดูว่าต้องทำอย่างไรถ้าเจอสถานการณ์นี้

การประเมิน
-ตนเอง  ตั้งใจทำข้อสอบ  จำที่อาจารยืยกตัวอย่างได้แต่ไม่สามารถเขียนหรือเรียงคำพูดได้
-เพื่อน   ตั้งใจทำข้อสอบ  และมีความเครียดเล็กน้อย
-อาจารย์  ได้ออกข้อสอบตามทีอาจารย์สอนมาทั้งหมดและตรงกับเนื้อหาที่เรียน









บันทึกอนุทินครั้งที่ 10




บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์
วิชา  การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
วันที่ 19 เดือน มีนาคม พ.ศ.2558 เวลา 13:10-16:40 น.

ความรู้ที่ได้รับ
       วันนี้เรียนเรื่อง  การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
        ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
การที่ให้เด็กมีอิสระ  คือ  ทำเอง  คิดเอง  ตัดสินใจเอง
การสร้างความอิสระ  คือ  เด็กอยากช่วยเหลือนเองหรืออยากทำงานตามความสามารถของตนเองและการเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน
ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ  คือ  การทำได้ด้วยตนเอง  เชื่อมั่นในตนเองและสามารถเรียนรู้ความรู้สึกที่ดี
หัดให้เด็กทำเอง  คือ  ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น
สรุป
-ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
-ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
-ความสำเร็จขั้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
-ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
-เด็กพึ่งตนเองได้

ระหว่างที่อาจารย์สอน



ผลงานของดิฉัน


        หลังจากเรียนเนื้อหาจบอาจารย์ก็จะมีกิจกรรมเสริมมาให้นักศึกษาทำ   โดยอาจารย์จะแจกกระดาษคนละแผ่นแล้วระบายสีเป็นวงกลมตามใจสอบของเราระบายเสร็จก็ตัดเป็นวงกลม   แล้วอาจารย์ก็ได้เอาต้นไม้ไปติดหน้ากระดาษ  แล้วให้นักศึกษาออกไปติดที่ละคน  ติดวงกลมของตัวเองติดต่อเติมให้เป็นรูปทรงต้นไม้ที่สมบูรณ์   และสุดท้ายอาจารย์ยังบอกความรู้สีกสีแต่ละสีที่ระบาย



การนำไปใช้
-สามารถนำเนื้อหาไปใช้ในการเรียนการสอนได้
-สามารนำกิจกรรมไปประยุกต์ใช้สอนกับเด็กได้

การประเมิน
-ตนเอง  เข้าเรียนตรงต่อเวลา  แต่งกายเรียบร้อย  จดบันทึกเนื้อหาเพิ่มเติมที่อาจารย์สอน  และตั้งใจทำกิจกรรม
-เพื่อน  ตั้งใจเรียน  และถามอาจารย์เวลาไม่เข้าใจเนื้อที่อาจารย์สอนและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
-อาจารย์  อธิบายเนื้อหาได้อย่างละเอียดและได้อย่างเข้าใจ  และมีกิจกรรมมาเสริมท้ายคาบ  และยังยกตัวอย่างในเนื้อหาเรียนให้นักศึกษาเห็นถึงเหตุการณ์นั่นว่าควรปฏิบัติอย่างไร